Colombia vs Thailand พาทัวร์ สังคม วัฒนธรม:

ณ ประเทศโคลอมเบีย (For Thais)

 

change your language


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

////

 

มาเริ่มเรื่องกันเลย


เคยเกริ่นไว้มานานว่าจะมาเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ตอนนี้ผม ได้โอกาศ พยายามจะรวบรวมข้อมูลเท่าที่จะทำได้
(ที่รีบเล่านี้เพราะเมื่อไม่นาน เพื่อนเยอรมันสามคนที่รู้จักในอเมซอน ตอนกลับมาโบโกต้าโดนขโมยกระเป๋าตังค์ไปหมด เป็นสาเหตุที่
คันไม้คันมือมากๆอยากเล่ามาก)
ในกระทู้นี้ผม
"เป็นกระทู้แรกเกี่ยวกับประเทศโคลอมเบียที่ได้อธิบายอย่างละเอียดในภาษาไทย"
อิงจากความเป็นจริง หลักฐาน และค่อนข้างที่จะ Stereo type และ Bias นิดนึงในฐานะที่เป็นคนไทย
แน่นอน เร้าใจ ได้ทุกรสชาติแน่ๆ เพราะเป็นอะไรที่แปลกใหม่เนื่องจากกระทู้แถบลาตินนี้ไม่ค่อยมี ฉะนั้นอยากให้ติดตามอ่านกัน

เนื้อหานี้เหมาะกับคนไทย ไม่อาจไม่รวมคนที่ไปอยู่ตปท นานๆ จนได้สัญชาติ หรือคนที่มาเที่ยวเล่นสัปดาห์สองสัปดาห์
ขอดักไว้ก่อนว่า ผมขอถ่ายถอดประสบการ์ณจากการที่ได้มาอยู่และเที่ยว ไม่ใช่แค่มาเที่ยวอย่างเดียว ฉะนั้นอยากให้เข้าใจในส่วนนี้

เรื่องราวที่จะถ่ายถอดในกระทู้นี้นั้นรวมหลายอย่่าง ไม่ใช่แค่การเดินทาง แต่รวมเรื่องปัญหาสังคมในโคลอมเบีย การเข้าใจชีวิตผู้คน และชีวิตในต่างแดน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแน่ๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะมา หรือคนที่ต้องการจะทำธุรกิจกับประเทศนี้โดยต้องการเรียนรู้อะไรต่างๆ
โดยเรื่องที่จะเล่านั้นจะประกอบไปด้วย การเปรียบเทียบ เศรษฐกิจเล็กน้อย การท่องเที่ยว กฏหมาย และอื่นๆ

ผมไม่ได้ไปเที่ยวทั่วประเทศหมด แต่ก็ไปเป็นจำนวนนึง ฉะนั้นเนื้อหาหลักๆจะมาอยู่ที่เมืองหลวง ชื่อว่า โบโกต้าเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาบางส่วน ผมอาจจะมีรีวิวจากเพื่อนๆต่างชาติที่ได้ไป ให้มารีวิวให้ แต่ผมจะมาแปลลงในนี้เอง
โดยประกอบไปด้วยเพื่อน ชาวเยอรมัน 3 คนและสวิส 1 คน

เรื่องราวที่จะนำเสนอนั้นจะพยายามทำให้หมดในหนึ่งกระทู้นี้(ถ้าเป็นไปได้) โดยจะประกอบไปด้วย
- เปรียบเทียบระหว่าง โคลอมเบีย และประเทศไทย
- วัฒนธรรม ความแตกต่าง และประวัติศาสตร์เล็กน้อยเป็นน้ำจิ้ม
- กฏหมาย และ สังคม
- พาทัวร์ในเมืองหลวงและเมืองอื่นๆ

ไฮทไลท์ ที่จะมีในเรื่องนี้คือ
-โดนตำรวจจับ ,โดนขโมย,โดนกระชากกระเป๋า (เพื่อนต่างชาติจากยุโรปที่รู้จักรวมตัวเอง 8 คน โดนปล้น ขโมย ชิงทรัพย์ไป 6คน ล่าสุดถ้าใครติดตามทริปอเมซอน
จะเห็นได้ว่าเพื่อนที่ ผม รู้จักในอเมซอนนั้น ก็โดนไปหลังจากกลับมาที่โบโกต้า)
-หนีระเบิดจากประท้วง,มีคนวางระเบิดใกล้บริเวณที่อาศัย,ระเบิดในมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
-เรื่องรักๆ อันเรื่องส่วนตัวหน่อยเล่าสั้นๆและกัน เขิน 555
-การซื้อขายกัญชาตามท้องถนน โคเคน และอื่นๆ
-โดน racism
-อาชีพโสเภณีและการใช้ชีวิตในอาชีพนี้(สัมภาสจากโสเภณีจากแหล่งสองที่คือใน Chapinero และ el Centro)
-การนั่งรถต่างๆในเมืองไม่ให้หลง
-ปาร์ตี้แบบโคลอมเบียและสังค์สรรค์

รูปที่เอามาเปรียบเทียบกันนั้น พยายามหาอันที่ทันสมัยที่สุดของเขามาให้ดูนะ จะได้ไม่หาว่าลำเอียง

คำเตือน : กระทู้นี้ไม่เหมาะกับผู้ที่รักประเทศโคลอมเบีย และผู้ที่รับไม่ได้ กระทู้นี้ผมได้เขียนเนื้อหาเป็นสัปดาห์ ไม่ค่อยมีเวลามากแต่จะใส่เนื้อหาเท่าที่ทำได้ โดยจะพยายามเก็บภาพให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่ได้หรือขี้เกียจกลางทาง ก็อ่านเท่าที่เขียนและกัน 55

เปรียบเทียบเมืองหลวง

การขนส่งต่างๆในประเทศ

มาเริ่มกันเลยดีกว่า 


ประเทศโคลอมเบียนั้นมาจากชื่อนักสำรวจ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชื่อนี้ได้มาเป็นชื่อประเทศในปี 1819 ซึ่งตอนนั้น ดินแดนอนานิคมที่เป็นพื้นเดียวกันได้แก่ เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และปานามาในปัจจุบัน

ในประเทศข้างต้นนี้รวมประเทศทั้งหมดคือประเทศโคลอมเบีย ปานามา เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และตรินิแดดและโตเบโก รวมทั้งบางส่วนของนิการากัว เปรู กายอานา และบราซิลได้มีชื่อเรียกว่าเขตอุปราช

แห่งนิวกรานาดา(Viceroyalty of New Granada) บริเวณที่กล่าวมานั้นเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน  

ลักษณะธงชาติของโคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอล่านั้นจะคล้ายๆกัน จนบางครั้งก็แยกไม่ออกเวลาเจอพวกของที่ระลึกเช่นข้อมือหรือกระเป๋าที่เป็นลายธงชาติ บอกได้ว่าเขาทำเหมือนกันมากจนแยกไม่ออกจริงๆ 


ตามรูป เหมือนกันมาก

ในปี 1819  สาธารณรัฐแกรนโคลอมเบีย (The Republica de Gran Colombia) ได้ก่อตั้งขึ้น โดยมี  ไซมอน โบลิวา (Simon Bolivar) ได้ต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศทั้งสามในปัจจุบันได้แก่ 

โคลอมเบีย เวเนซูเอล่า เอกวาดอร์ จากชาวสเปน. เขาได้มีความคิดตลอดในการที่จะรวบรวมประเทศทั้งสามให้เป็นหนึ่งเดียว. และในปีคริสตศักราช 1819 เขาก็ได้มีฉายานามว่า El libertador ผู้กอบกู้อิสรภาพ โดยที่เขาได้ถูกแต่งตั้งเป็น president of the republic 

 

ข้ามย่อเลยและกัน : ในที่สุดไอเดียในการรวมประเทศก็ไม่สำเร็จ เวเนซูล่าก็เริ่มแยกตัวจาก Gran Colombia และปีต่อมา เอกวาดอร์ก็เริ่มแยกตัวออกมา 

Simon Bolivar นั้นเกิดที่ เวเนซูเอล่า  จริงๆแล้วจะบอกความแตกต่างของสามชาตินี้แถบจะไม่มีความแตกต่างเลย  
แต่เนื่องด้วยโคลอมเบียนั้นเป็นเมืองติดทะเลเคริเบียน การค้าขายและการผสมพันธ์ข้ามชาตินั้นจึงมีมากกว่าเอกวาดอร์ ทำให้คนโคลอมเบียนั้นมีหน้าตาที่หลากหลายกว่า คือง่ายๆหน้าตาดีกว่า
(ปล คนโคลอมเบียหน้าตาดีกว่าคนเอกวาดอร์ อันนี้ให้เถึยงเลยถ้าอยากเถียง สัมพัสมากับตัว) 
กลุ่มชาติพันธ์นั้นคือ Mestizo 49% และWhite 37% ในขณะที่เอกวาดอร์นั้นมีส่วนผสมจากผิวขาวน้อยกว่าคือ 71.9% Mestizo และ White เพียง 6%
ส่วนเวเนซูเอล่ายังไม่เคยไปเพราะยุ่งยากเรื่องการทำวีซ่า เลยตัดสินใจไม่ไป โคลอมเบีย และเวเนซูเอล่า เป็นสองประเทศในอเมริกาใต้ ไม่รวมอเมริกากลาง ที่เราต้องทำวีซ่าก่อนเข้าประเทศ ส่วนบางประเทศในอเมริกาใต้สามารถทำหน้าด่านได้เลยและบางประเทศอาจต้องทำวีซ่าก่อนถึง แต่หลักๆที่เราเข้าได้แน่ๆคือ เอกวาดอร์ เปรู ชิลี อาเจนติน่า บราซิล โบลิเวีย(ทำที่ด่าน)

 

คนโคลอมเบียจะคิดว่าประเทศเขาไม่เคยได้รับการรุกรานโดยต่างชาติโดยคิดว่า พวกสเปนไม่ได้เข้ามาบุก แต่พวกเขานำความเจริญมาให้ จากคนป่ากลายเป็นคนเมือง มาสร้างประเทศให้ดีขึ้น 
ต่างจากประเทศไทยที่เราภูมิใจในเอกราช จำไว้ เอกราชเราจะไม่ให้ใครข่มขี่ 

ดังรูปข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่น่าตลกแท้นัก คนโคลอมเบียส่วนมากจะไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับประเทศเขา 
ผมได้ทำการสำรวจ 5 คน จาก ชาวโคลอมเบีย 4 คนที่อาศัย และอีกคนที่เจอที่อเมซอน แต่มาเที่ยว เขาได้อาศัยอยู่ในประเทศสเปนปัจจุบัน
ผลคือว่า เขาแทบไม่รู้ด้วยซ้ำประชากรคนที่อาศัยในเมืองหลวงมีเท่าไหร่
ตอบมา 15 ล้าน 12 ล้าน บ้าง ... ป๊าดดดดดด นี้เยอะกว่ากทมอีกเหรอนี้??  แค่กทม ก็หายใจกันไม่ออกแล้ว แต่ที่นี้เดินสบายใจช้ำมาก 
ไม่แออัดเหมือนกทม

 

มาคุยเรื่องการท่องเที่ยวกัน

ในเรื่องสถานที่เที่่ยวนั้น แน่นอนว่าประเทศไทยนั้นมีสถานที่ประวัติศาตร์เช่นสุโขทัย อยุธยา ซึ่งมีอายุเป็นร้อยๆปี (เรามีประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ อิอิอิ)และประเทศไทยก็มีทะเล ภูเขา ธรรมชาติที่สวยงาม
ไม่ว่าจะเป็นป่า เขา ซึ่งโคลอมเบียก็มีแต่ ป่าเขา ทะเล ไม่ต่างกันมาก
แต่แน่นอนทะเลเราสวยกว่ามั่นใจ
ฉะนั้นมันจะน่าสนใจกับเราหรือ? คำตอบอาจจะไม่ ต่างจากเอกวาดอร์ เปรู ชิลิ อาเจน ที่ทิวทัศน์ต่างๆอาจสวยงามในสายตาเรา เพราะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่มี
แต่โคลอมเบียนั้นทิวทัศน์ป่าเขา ซ้ำๆ ทำให้ผม เบื่อมากๆ
จากการได้สอบถามชาวต่างชาติหลายๆคนในโคลอมเบีย ที่ไม่เคยมาไทยมาก่อน จะบอกว่า โอ้ อเมซิ่ง ภุเขา ป่าไม้ ทะเล แต่พอพูดถึงไทยก็ไม่มีคอมเม้น เพราะไม่เคยมา
ผมได้พยายามปลูกฝังความอยากมาไทยให้คนพวกนั้น(5555)โดยบอกว่าประเทศเราก็มีนะ อัศจรรย์กว่านี้นะ พวกที่ไม่ชอบไทยเป็นเดิม(อาจเป็นเพราะคนไทยไปทำวีรกรรมที่ประเทศเขาหรือเปล่าไม่แน่ใจ)

ก็จะบอกว่าโคลอมเบียสวยกว่า ฉันยินดีที่จะตั้งรกรากที่นี้
แต่คนที่เคยมาไทยมาก่อน คำตอบต่างกันมาก คือ ไทยแลนด์โอนลี่ คือ ให้คะแนนขาดรอย
ผมเลยสวนไปหมดว่า การท่องเที่ยวไทย คนมา 20 ล้านต่อปี ในขณะที่ประเทศ โคลอมเบีย 2ล้านต่อปี จากสถิตินี้ก็คงไม่ต้องบอกแล้วนะว่าทำไม

-------

อาหารเป็นที่แน่นอนว่าร้านอาหารไทยมีทุกทีบนโลก ที่นี้ก็มีแต่น้อยมากๆ น้อยจนหาไม่เจอ  
วัฒนธรรมอาหารโคลอมเบียก็หากินได้ทุกทีในประเทศ หมายถึง ของอย่างเดียวกันเช่น empanada หรือ arepa นั้นมีขายทุกที่ในประเทศ 
โดยจะมีลักษณะเป็นแป้งสอดใส้ ทั้ง empanada และ arepa (ส่วนมากจะเป็นซีส)
ด้านการเดินทางไปที่ต่างๆในโคลอมเบียนั้นทำได้โดย รถและเครื่องบิน แตกต่างจากไทยที่
ประเทศไทย ไปได้ทั้ง รถ เรือ รถไฟ เครื่องบิน เดินท้า (โคลอมเบียคงไม่มีใครอยากและกล้าเดินเท้าข้ามภูเขาไปสถานที่ต่างๆ)

 

ถามว่าใครนั้น friendly กว่า อันนี้ขอความเห็นส่วนตัวเลย คือประเทศไทยคงคอนเซ็ปเดิม The Land of Smile (thailand) ทุกคนยิ้มหมดไม่ว่าจะ
ยิ้มเสแสร้ง ยิ้มเหล่กล หรือไรก็ตาม แต่การยิ้มนั้นก็ทำให้โลกเบิกบานได้ ความช่วยเหลือต่างๆ ผมเห็นน้อยมากที่เวลาคน ต่างชาติ
ถามทางใครแล้วจะไม่มีใครเข้าไปช่วยโดยทำหน้าแบบไม่เอาหรือปฏิเสธแบบไม่มีเยื่อใย ยิ่งคนแก่ในไทยที่เห็นจะมีน้ำใจยิ่ง
คนไทยขึ้สงสาร กลับกัน คนที่โคลอมเบียกำลังเข้าสู้ศรวรรษใหม่ เด็กรุ่นใหม่นั้นเริ่มเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงมาให้ประเทศที่กำลังพัฒนานี้
เด็กส่วนมากจะเปิดต้อนรับชาวต่างชาติมากกว่าคนรุ่นหลัง คนหลังแก่ๆ จะไม่ค่อยให้ความร่วมมือ
สาเหตุนั้น ผมสันนิฐานว่า 1. กลัวคนกันเอง กลังโดนจี้ โดนขโมย 2.ไม่มีน้ำใจ ไม่อยากตอบ ขี้เกียจและอื่นๆ 3. กล้าพูดได้เลยว่าคนส่วนมากไม่ค่อยรู้จักประเทศตัวเองดี
ฉะนั้นแค่จะออกจากบริเวณบ้านตัวเองยังไม่กล้าเลยไม่รู้ที่อื่น นอกจากบริเวณที่ตัวเองรู้จัก

จากรูป
ประเทศไทยคงคอนเซ็ป 
Thailand: The Land of Smiles

Colombia : ไม่มี
แต่จะอ้างอิงจากเครดิตบล๊อคเกอร์คนหนึ่งคือ
"what you see is what you get"
คุณ Thomas ได้เขียนไว้เมื่อปี April 15th, 2009

ค่าครองชีพที่นี้จะสูงกว่าไทย บางอย่างที่ทำให้ผมเก็บมาคิดคือเงินเดือนคนส่วนมากได้เท่ากับคนไทย (ถามรู้ได้ไง ? ผมได้มาจากการสัมภาษยาม แม่บ้าน พนักงานเสริพและอื่นๆ)  แปลกดีที่เงินเดือนส่วนมากได้เท่ากับคนไทยหลายๆคน แต่ค่าครองชีพนั้นสองเท่า โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ 
แล้วคนเขาอยู่กันได้ยังไง? นั้นสิ เป็นคำถามคาใจมากกว่าคนอยู่กันได้ยังไง 
จากอัตราการว่างงานนั้น ผมได้อ้างอิงจาก CNN
อัตราว่างงานคนไทยนั้น 0.5%
แต่ในโคลอมเบียนั้น 10.8%
ไม่แน่ใจเขาของไทยเขานับรวมแม่ค้าแผงเร่หรือเปล่า 
แต่ 10.8% ในโคลอมเบียนั้น ได้ความจากเพื่อนมาว่า มันมีมากกว่านั้นเพราะเขานับหมด แบบขายของแผงเร่ก็นับเป็นงาน โดยได้เปอร์เซ็นจากเพื่อนชาวโคลอมเบียที่ทำงานอยู่ในสถานีโทรทัศน์ในโคลอมเบีย 

มากกว่า 20% จากที่เพื่อนโคลอมเบียบอกปากปล่าว

นี้คงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีขโมยชุกชุม  และอาชญกรรมมากเพราะอัตราว่างงาน

ในเมืองหลวงโบโกต้านั้น มีแค่ฤดูเดียวเท่านั้นคือ ฤดูหนาว  อากาศโดยรวมประมาณ 6-17 องศาต่อวัน
โดยมากตั้งแต่อยู่มา อากาศมารตรฐานเลยที่สังเกตุคือ 10-14 ต่อวัน
ใครเคยอยู่อังกฤษคงนึกภาพออกเลย ฝนตก แดดออก หนาว มิ๊กในวันเดียวแต่ที่นี้โหดกว่า
(ดักไว้ก่อน ไม่ต้องบอกนะว่าอากาศสดชื่นดี สำหรับคนที่เคยไปอยู่ตปทมาก่อนแล้วชินกับอากาศเช่นนี้ ,ผมมีความเชื่อว่าคนไทยที่ไม่เคยไปไหนมาก่อน
มาอยู่กับอากาศดังกล่าว จะบอกว่าหนาวมากๆๆๆ) ซึ่ง ผมก็เช่นกัน รู้สึกได้เลยว่าหนาวเหมือนอยู่ในเมืองนาเนียทุกวัน

สถิติต่ำๆที่เคยจับได้ด้วยตัวเอง

(Winter in the captials)

 

มาเรื่องภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจกันบ้าง


โคลอมเบียมีเกาะหนึ่งชื่อว่า San Andres ตั้งอยู่ในเคริเบียน (ไม่ต่างอะไรจากเกาะล้าน ข้อมูลจากเพื่อนเยอรมัน)
เกาะนี้มีการปกครองเป็นของตัวเองและใช้ภาษาอังกฤษ
รูปถ่ายจากเพื่อนชาวเยอรมัน

 

เมืองที่ใหญ่อันดับสองในโคลอมเบียคือเมือง Medellin เมืองนี้มีรถไฟ metro อย่างที่เห็นในรูปด้านบน
เป็นเมืองที่อยู่ในส่วน Antioquia Department และเป็นเมืองที่รวยที่สุดในโคลอมเบีย(รวยไงก็ไม่รู้ ก็เห็นเหมือนๆกันหมด)
รุปนี้ไม่ได้ถ่ายเอง หามาจาก google 

 

ส่วนเมือง Cartagena เมืองติดเคริบเบียน เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาก 
แต่ก็แปลกที่ติดเป็น Department ที่จนอยู่ทั้งๆที่นักท่องเที่ยวเยอะกว่าในเมืองหลวง (ไม่ต้องสงสัยคอรัปชั่นชัวร์ๆ)
เมืองนี้เพื่อนผมไปกันมาหมดแล้ว

เรื่องสังคมกันบางเล็กน้อย 


ถ้าใครที่มาที่โคลอมเบียจะเห็นรถ Chivas bus แล่นไปตามาท้องถนน  ถามว่ามันคืออะไร
มันคือรถที่เปิดเพลง คล้ายๆกับผับเคลื่อนที่ มีให้เห็นในหลายๆเมืองหรือแม้แต่โบโกต้าเอง
ส่วนวัฒนธรรมดนตรีนั้น ใครที่จะหวังมาดิ้นๆเหมือนในไทยที่มีเพลงฝรั่ง สากลเปิด ฝันไปได้เลย ที่นี้จะมีเพลงพื้นเมืองที่ชื่อว่า บาเยนาโตะ (vallenato)
โดยเพลงจะมีเนื้อหาประมาณรักๆจากๆ ดนตรีสนุกสนาน แต่ขอบอกว่า ฟังนานๆ เบื่อมาก อยากฟังแนวสากลดิ้นๆ ไปผับบาร์ ร้องเพลงตามไม่ได้สักที
ไม่เหมือนไปข้าวสารกระโดดดิ้นๆ ร้องคลอตาม 


Chiva tour
*ผมมีรูป แต่หาไม่เจอถ่ายเยอะมาก ถ่ายรุปโคลอมเบียเป็นพันๆรูปขึ้เกียจค้นเลย เอารูปนี้มาจากเวปก่อน

 

คนในที่นี้นั้น ไม่มีความจำเป็นจะต้องเรียนภาษาอื่นให้เสียเวลาเพราะว่าถ้าอยากเดินทางออกนอกประเทศเช่นไปประเทศรอบด้านหรือภูมิภาคเมกาใต้
แค่ภาษาสเปนก็พอ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น ต.ม. สถานที่ราชการ หรือที่ที่เกี่ยวข้องกับคนต่างชาติ เขาไม่พูดอังกฤษกัน ถึงพูดได้ มั่นใจว่าคุณก็ไม่รู้เรื่อง
ฉะนั้นจะมาเที่ยวโดยไม่รู้ภาษาเลย ขอบอกว่าลำบากมาก โดยเฉพาะเวลาโดนขโมย โดยปล้นและอื่นๆ


ผมเป็นคนตรงต่อเวลามากๆๆๆๆๆๆๆ
การนัดหมายในประเทศนี้ การมาสายถือเป็นเรื่องปรกติ คนไทยครึ่งชั่วโมง โอเคย่วนๆ แต่นี้ 2 ชั่วโมงเจอมาแล้ว ตอนประชุม ไม่อยากจะสาธยาย
ปรกติแค่ชั่วโมงก็สุดๆแล้ว

 

ร้านอาหารนั้น ที่โคลอมเบีย มีร้านสัญชาติเขา คล้ายๆกับ แบล๊กแค็นย๊อนเรา คนที่โคลอมเบียแม้จะอยากเป็นเหมือนอเมริกันแต่ถึงเวลาถ้าครอบครัวอยากพาไปกินเขาจะไม่เลือกไป McDonold's แต่จะเลือกไปที่ El Corral แทน เพราะเป็นร้านสัญชาติโคลอมเบีย
เพราะเวลาเพื่อนที่ทำงานพาไปที่ไรก็จะพาไปร้านนี้

ถ้าอยากให้คนเกรงใจนั้น ต้องใส่สูทธผูกไทค์
ที่นี้จะมองคนภายนอกเหมือนกัน ใส่สูทธผูกไทค์ กับแต่งกายปรกติ แน่นอน คนจะให้เกียรติพวกคนใส่สูทธผูกไทค์มากกว่า
คล้ายๆกับไทยคือ หลายคนมองคนที่เครื่องแต่งกาย

ส่วนเรื่องจีบสาวโคลอมเบีย อันนี้ไม่รู้คล้ายเราหรือเปล่านะ ถ้าคุณเป๋าตุง รับรองเดินตามหางติดๆ

แน่นอนเรื่องนี้ไม่พ้นคือเรื่องเซ็กส์
หลายๆคนได้ยินมาแน่นอนว่าแถบนี้เรื่องแบบนี้ปรกติ
จากสัมพัสมากับตัว ขอยืนยันด้วยตัวเองว่าใช้ (อิอิอิ)
ที่นี้ฟรีเซ็กส์ แต่ไม่ฟรีด๊อม ถามคืออะไร? คนไทยเท่าที่เห็นจะเห็นได้ว่าเรามีอิสระมาก จะประท้วง จะทำอะไรต่างๆนานาๆก็ไม่มีใครว่า
ที่นี้ระวังโดนลูกปืนหล่ะ ทำไรพิเรนๆแปลกๆ แค่เข้าห้างยังถ่ายรูปไม่ได้ ห้างใหญ่ๆอาจอนุญาติเพราะการรักษาความปลอดภัยไม่ทั่วถึง

เนื่องจากผมหน้าโทรมมาก เลยเซ็นเซอร์หน้าตาตัวเอง เพราะหน้าเกลียดมาก เมามาก 5555

 

 

การเรียกคนเอเชียที่นี้นั้น เขาเรียกจะเรียกเราว่า Chino ไม่มีความหมายว่าเอเชียสักนิด
เหมือนไทยเรียกคนขาว ว่าฝรั่ง 
แต่ คำว่าChino ผมถือว่าเป็นการ racism เพราะมันมีความหมายว่า Chinese
โดยคนโคลอมเบียจะเรียกคนขาวว่า Gringo  
ฝรั่ง ในภาษาไทยเราเอาไว้เรียกคนผิวขาว โดยไม่มีความหมายที่ทำให้ขุ่นเคืองไดๆ 
Chino เป็นการเรียกเหมารวมซึ่งถือว่าดูถูกมากๆ สำหรับผม  คำอื่นๆมีให้ใช้เช่น Asiatico  กลับไม่ใช้ จะได้ยินก็แต่ในข่าวเท่านั้นแต่ในสังคม เขาเรียกเรารวมหมด

แก้เผ็ดยังไง : คนโคลอมเบีย get pissed off เวลาที่ใครเรียกพวกเขาว่าแม็กซิกัน หรือเวลาที่เห็นคนเขียนชื่อประเทศ Colombia เป็น Columbia 


ในรูปไม่เกี่ยวกัน กำลังขึ้น 5555

 

 

กฏหมายที่นี้ก็แปลก ทุกที่ที่นักท่องเที่ยวไปในโคลอมเบีย โดยเฉพาะตามแหล่งเมืองต่างๆถ้านั่งเครื่องไปจะต้องเสียค่านักท่องเที่ยว? แต่ถ้านั่งรถไปไม่เสียอีกอย่างคือถ้าใครที่จะอยู่เกินสามเดือนต้องไปทำ cedula de extrajeria คือบัตรต่างด้าวประมาณสี่พันกว่าบาท ถามทำทำไม? 
แปลกมาก ทำทำไม
เพื่อนผม ไม่ได้ทำ แต่อยู่เลยมาหลายเดือนมากๆ ไม่ได้ขึ้นเครื่องกลับแต่กลับทางภาคพื้นดิน โดยจะไปต่อยันบราซิล ตอนผ่านด่านนั้น ไม่โดนอะไรสักนิด ???
ฉะนั้นการออกทางด่านนั้นจะดีกว่า  ไม่โดนเรียกเก็บไรจุกจิก
เพราะอีกอย่างคือถ้าออกจากประเทศนั้น นักเที่ยวที่อยู่เลยหกเดือนหรือสามเดือนที่ต้องการจะบินออกจากประเทศ ต้องเสียค่าออกจากประเทศ เป็นจำนวน 55-60 USD ประมาณ พันแปด 
ประเทศนี้เก็บทุกอย่างครับพี่น้อง ......................

ยังมีอีกกฏหมายและเรื่องต่างๆที่จะเล่าในช่วงท่องเที่่ยวครับ 

ในรูปสถานที่ต่อวีซ่า มีลักษณะเป็นห้องเล็กมาก

หน้ารักมากหมาตัวนี้

 

หลังจากได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นี้ได้สักพัก เรื่องร้ายๆ และเรื่องไม่ดีก็เริ่มเห็นขึ้นในประเทศนี้

อย่างที่ทราบเนื่องจากอาชญากรรม ปล้น ขโมย ในประเทศนี้เยอะมาก
อันเป็นเพราะว่าอัตราว่างงานนั้นสูง ทำให้คนเลือกที่จะหาเงินในรูปแบบต่างๆ ดังรูป
จะมีคนขึ้นมาตามรถ มาโชว์ความสามารถพิเศษ หรือแม้แต่ตามท้องถนน ก็จะมีมากมาย
เพื่อหาเงินมาเป็นค่าการศึกษา ค่ากิน และอื่นๆ

 

เรื่องการขโมยนั้น กลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วสำหรับที่นี้
การที่คิดว่ามีตำรวจนั้น ไม่ได้ทำให้ปลอดภัยขึ้นเลย เพราะตำรวจเองก็ไถ่ตังค์ โดนมาแล้วแหละจขกท
อย่างที่กล่าวไป สถานที่ต่างๆนั้น ตามบ้านเรือนจะมีลูกกรงติด ทุกบ้าน บางบ้าน มีดับเบิลโปรเทคชั่น
กรงทั้งนอก และในบ้าน
ในรูป การขโมยรถนั้นก็มี (ไม่รู้ขโมยกันยังไง) กล้องนั้นไม่ช่วยอะไรได้เลยสำหรับที่นี้
ทุกที่เลยมีการจ้างยาม การด หรือรักษาความปลอดภัย มาดูแล อย่างดังรูป
ที่จอดรถ ยังต้องจ้างคนมายืนมอง

ลูกกรงที่ให้ในธนาคารบนถนน และตามบ้านเรือน

 

และแล้วเหตุการณ์ก่อเกิดขึ้น ในวันที่   16 สิงหา ผมได้ไปเดินเล่นใน ส่วนกลางที่เรียกกว่า  el centro  
ที่นี้คนชุมชมเยอะแยะมาก และมีหลายที่ ที่อันตราย โดยผมด้วยความซ่า กล้า และก็ไม่คิดว่า มันจะน่ากลัวแบบนั้นเพราะอยู่มาก็หลายเดือนไม่เห็นเกิดอะไรขึ้น  ผมได้เดินไปเพื่อที่จะไปร้านอาหาร  ในบริเวณนั้นมีคนเดินไม่กี่คน แต่มันดูไม่น่ากลัวเลย เพราะมีร้านหลายร้านเปิดอยู่

ผมสะพายกระเป๋าสีน้ำตาล  เป็นกระเป๋าพาดไหล่ เดินดุ่ม 
ทันในนั้นก็มีชายแปลกหน้าเดินมาประชิดและ ชกไปทั้งกระเป๋า 

เหตุการณ์นี้ถึงกับช๊อค อยู่เมืองไทยไม่เคยเจอมาก่อนกับตัว 


ในรูปในบริเวณที่เรียกว่า el centro

และนี้คือสถานที่ที่จขกท เดินผ่าน
ในรูปมาถ่ายอีกวันหลังจากที่โดนไป จะเห็นได้ว่ามีตำรวจมายืนเก๊กๆไปอย่างนั้น

ผมพยายามวิ่งแต่ก็ไม่ทัน แต่มานึกขึ้นได้ ในกระเป๋าไม่มีอะไรเลย นอกจากเบอรชัวกับเอกสารก๊อปปี้
สาเหตุนี้เองเลยไม่ได้ไปแจ้งความใดๆทั้งสิ้น ในครั้งแรก

และนั้นคือครั้งแรก ครั้งที่สอง นั้นเป็นตอนที่ผมกำลังจะไปทริปเอกวาดอร์
ขณะลงรถนั้น ได้เจอหญิงแก่ล้วงกระเป๋าไป ตอนที่รู้สึกตัว และทันที ทีขาเหยีบติดพื้น เท่านั้นเอง รถก็ปิดทันที

ผมมีความมั่นใจว่าเขาทำเป็นขบวนการกับคนขับเนื่องจาก หญิงคนนั้นมีการสนทนา กับคนขับซึ่งจขกท ไม่ได้ฟังเพราะไม่ได้สนใจมาก เลยไม่ได้
ตั้งใจฟังว่าพูดไรกัน

รถคันที่ผม โดนนั้นมีลักษณะเหมือนรถคันหลังสีแดง คือคันสีดำเปะๆ

 

บรรยากาศสถานที่อันตราย ที่ห้ามมา

ส่วนนี้เป็นสถานี ที่ผมโดนโจรกรรม แต่เป็นเวลาหนึ่งทุ่ม ในภาพเป็นเวลากลางวัน

 

และนี้คือหลักฐานครับ ครั้งนี้ถึงกับต้องไปแจ้งความเพราะทนกับพฤติกรรมคนที่นี้ไม่ไหว 

ก่อนหน้านั้นผมได้ถ่ายรูปเงินก่อนที่จะไปเที่ยววันหนึ่ง

นี้คือเงิน จริงๆ ที่ผมโดนขโมยไปหมด อาจจะไม่ทั้งหมดเพราะเหลืออีกส่วนที่เก็บไว้ในพาสปอร์ต เป็นค่ากินเกือบเดือน

 

โชคนั้นยังเข้าข้าง เพราะผมได้แยกพาสปอร์ตไว้อีกที่

การที่พาสปอร์ตหายในประเทศที่ไม่มีสถานทูตไทย คิดดูแล้วกันนะครับว่าจะแย่แค่ไหน

--------


ส่วนเรื่องสถานอโคจรก็มีแบบไทยยกตัวอย่างเช่น strip club ,pub, bar และอื่นๆ

มีเรื่องเกิดขึ้นวันฮัลโลวีน ก่อนผมกับเพื่อนจะไปstrip club เราได้ถูกตำรวจไถ่ตั้งเป็นจำนวนเงิน ห้าหมื่นเปโซ
เป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นแต่รู้สึกแย่มากๆ ทำให้คืนนั้นไม่สนุกเลย

 

บ้านที่ผมอยู่นั้นได้ตั้งอยู่ใกล้ผับ บาร์ มากมาย

ส่วนตรงนี้ก็จะเป็นย่าน Andino ย่านคนมีตังค์หน่อย


 

 

 

เอาเป็นว่าขอพอกับเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้น คราวนี้ผมจะให้ดูรูปสวยที่ได้ถ่ายมาในประเทศโคลอมเบีย

 

เริ่มจากเทศกาลนี้ก่อน
Caminata de la solidaridad 2012

 

สถานที่น่าสนใจต่างๆในเมืองหลวงและที่อื่นๆ

ใกล้ๆกับสวนสาธารณะ

Monserate มีสองทางให้ขึ้นคือเดิน กับขึ้นกระเช้า แต่ผมไม่ขึ้นหรอกแพง ฉะนั้นก็เลยเดินขึ้นแทน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเต็มๆ

ทัวร์กับเพื่อนๆในเมืองหลวง

ภายใน national museum

ตะลอนไปเรื่อยๆก็ไปเจอที่นี้ สถานที่สำคัญของเมืองหลวง

 

และนี้เป็นสิ่งที่ต้องลองให้ได้เรียกว่า Chicha มีรสชาติคล้ายๆสาเกแต่เปรี้ยวกว่า คือกินเยอะแล้วเมาได้

และนี้ก็เป็นบรรยากาศในเมืองรวมๆ

 

 

เมืองละแวกใกล้เคียงที่น่าไปก็เช่น fusagasuga

Traditional Colombian Food

 

วีดีโอท่องเที่ยวในโคลอมเบีย

 

Ep1

 

Ep2

 

Ep3

 

Ep4

 

Ep5

 

Ep6

 

   

วิธีการเดินทางไป

icon.gif (941 bytes)  1. สายการบินไปอมริกาใต้ส่วนมากจะมีการเปลี่ยนเครื่องโดยผ่านทางอเมริกา ยุโรป และ แถบอาหรับ

icon.gif (941 bytes)  2. ค่าตั๋วถูกสุดๆจะตกอยู่ที่ 80,000 - 120,000 ของผมตั๋วราคา 115,000 บาท

icon.gif (941 bytes)  3. สถานที่เที่ยวในโคลอมเบียที่แนะนำให้ไป Santa Marta, Barranquilla, Cartagena,Bogota,Medllin,Cali และ Ipialeso

icon.gif (941 bytes)  4. ทั้งนี้ทั้งนั้นการเดินทางคนเดียวอาจไม่ปลอดภัยแนะนำให้ไปกับคนเยอะๆหรือศึกษาเส้นทางให้ดี ที่สำคัญอย่าไปที่ที่โล่งว่างเปลี่ยวเกิน หรือที่ที่คนแอดอัดเกิด อาจโดนโจรกรรมได้

อัพเดทข้อมูลสถานทูต (10/08/2014) : ตอนนี้มีสถานทูตโคลอมเบียที่ไทยแล้วครับ สามารถติดต่อกับทางสถานทูตได้โดยตรง

สถานทูตโคลอมเบีย (Embassy of the Republic of Colombia)

แอทเทนนี ทาวเวอร์, ชั้น 18, ยูนิต 1807 63 ถนนวิทยุ, แขวงลุมพินี, เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330

โทรศัพท์ 02-1688715-17 โทรสาร 02-1688721

e-mail : etailandia@cancilleria.gov.co

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------





---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

Flag Counter